top of page

095-636-6364

การทําหมัน ลดจํานวนประชากร

การทําหมันเพื่อลดจํานวนประชากร (เพื่อป้องกัน จํานวนสุนัขจรจัด)
ตั้งแต่จำความได้ ในวัยเด็กเคยเห็นสุนัขสีดำตัวหนึ่งมีลักษณะซูบผอมเดินส่ายไปมาอย่างอิดโรยบนถนนหน้าบ้าน วันนึงมันก็เดินมาหยุดอยู่ที่หน้าบ้าน ตอนนั้นรู้สึกกลัวไม่น้อยว่ามันจะทำร้ายเราไหมเพราะเราต่างฝ่ายต่างเป็นคนแปลกหน้า ด้วยความสงสารเอาก็เอาข้าววางลงข้างๆสุนัขสีดำตัวนั้นก่อนที่มันจะหันมากินด้วยท่าทีรีบร้อน บ่งบอกถึงอาการหิวโหยที่น่าจะสั่งสมมาเป็นระยะเวลานาน
หลังจากมันอิ่มมันก็นอนอยู่ตรงนั้นจนหมดวัน เราก็ไม่กล้าที่จะไล่เพราะด้วยความสงสารบวกกับเราเองก็รู้ว่าลึกๆเองมันก็คงไม่มีที่ไป
วันเวลาเดินผ่านไปอย่างช้าๆแต่สุนัขตัวนั้นก็ยังวนเวียนอยู่หน้าบ้านของเรา จากที่เป็นคนแปลกหน้าก็กลายเป็นว่าได้คุ้นชินกัน ด้วยสถานการ์ก็กลายเป็นเจ้าของสุนัขตัวนั้นด้วยการตั้งชื่อง่ายๆให้ว่า “แบล็ค” สุนัขเพศผู้พันธุ์ไทยหลังอานอายุประมาณปีเศษได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในครอบครัวที่เกิดจากความสงสารหรือเพราะรักสุนัขเป็นทุนเดิม
ทั้งเราและเค้าค่อยๆเติบโตจนเป็นเพื่อนรักต่างสายพันธุ์กันในระยะเวลารวดเร็ว เราไปเดินเล่นกันตามถนนสายในของชุมชนกับเพื่อนๆคนอื่นในวัยเดียวกัน
เวลาผ่านไปหลายปีจนเราเริ่มโตขึ้นและเริ่มเรียนรู้ที่จะรับผิดชอบกับชีวิตหนึ่ง จนในวันหนึ่งเราก็ได้รับสุนัขตัวใหม่มาจากคุณลุงที่บอกว่าพบเจอมันจากข้างทาง สุนัขพันธุ์บางแก้วขนสีขาวแซมเทา อายุราวสองขวบได้เข้ามาอยู่ในบ้าน ยอมรับตามตรงว่าเป็นสุนัขตัวโปรดที่เรารักมากที่สุด เพราะเค้าเข้าใจในสิ่งที่เราพูด ถึงแม้จะไม่ทุกคำทุกประโยค แต่เราก็เข้ากันได้ดี ทำให้เราตระหนักถึงปัญหาที่ว่าทำไมสุนัขเร่ร่อนถึงเริ่มมีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งๆที่เค้าก็เป็นสุนัขที่น่ารัก และเป็นเพื่อนยามเหงาได้ การดูแลสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งไม่ว่าจะเป็นสุนัขหรือสายพันธุ์ไหน สิ่งที่เราควรจะมีให้คือความรักและการเอาใจใส่เพราะสัตว์เหล่านี้ไม่สามารถพูดได้ หากเราไม่พร้อมที่จะดูแล การรับมาเลี้ยงจึงเป็นสิ่งที่ไม่ควร เพราะหากวันใดวันหนึ่งคุณรู้สึกว่าเค้าไม่เป็นที่ต้องการแล้ว คุณจะมองเค้าเป็นภาระและผลักสิ่งนั้นเป็นออกจากตัวโดยไม่คำนึงถึงปัญหาที่จะเกิดขึ้นตามมา
เราในฐานะคนที่รักสัตว์ไม่ว่าจะเป็นสายพันธุ์ไหน อยากจะเป็นกระบอกเสียงเล็กๆบอกต่อออกไปว่า ทุกชีวิตมีความรู้สึก มีหัวใจ ถ้าคุณไม่พร้อมก็อย่ารับเค้ามาดูแลเพียงเพราว่าความน่ารัก หรือทำตามกระแส เพราะในวันหนึ่งข้างหน้าคุณจะเป็นหนึ่งในกลุ่มคนที่สร้างปัญหาให้กับสังคมที่มองแล้วมันยิ่งสร้างผลกระทบวงกว้างๆไปเรื่อยๆไม่มีสิ้นสุด
ก่อนที่เราจะพูดถึงประเด็นหลักที่เราทุกคนต่างรู้ว่ามี และยังคงเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆทุกวัน อันเนื่องมาจากหลากหลายสาเหตุ แต่ถ้าจะให้พูดถึงสาเหตุหลักคงหนีไม่พ้น การขาดความรับผิดชอบต่อสังคมที่เกิดจากกลุ่มบุคคลหนึ่งที่ไม่สามารถดูแลสัตว์เลี้ยงของตัวเองได้ อาจจะด้วยจากสภาพคล่องทางการเงิน สุขภาพของสัตว์เลี้ยง หรือความชอบที่อาจลดน้อยลงจนมองว่าสัตว์เลี้ยงเหล่านั้นเป็นเพียงภาระ การผลักภาระดังกล่าวจึงสร้างผลกระทบวงกว้างมายาวนานหลายปี แม้ว่าจะมีภาครัฐ หน่วยงานเอกชน หรือกลุ่มคนที่ยื่นมือมาช่วย ไม่ได้ทำให้ปัญหาเหล่านี้ลดลง อีกทั้งยังเป็นช่องโหว่งที่ทำให้หลายคนเลือกที่จะทอดทิ้งสัตว์เลี้ยงของพวกเค้าด้วยฟหกฟ
หากให้พูดถึงเรื่องนี้ อาจจะต้องมีการให้ข้อมูลที่อาจเป็นประโยชน์และทำให้เห็นภาพรวมชัดเจนมากยิ่งขึ้นด้วย
จากมุมมองของการควบคุมประชากร คิดว่าอันดับแรก ควรมีการจําแนกสุนัขตามพฤติกรรมหรือ ถิ่นที่อยู่ (หรือสถานที่ที่มีการกักบริเวณหรือออกมาเร่ร่อน) และสถานะของเจ้าของ ดังจะแสดงในภาพ 1 ข้างล่างนี้ และจะมีการให้นิยามคําต่างๆ ที่ปรากฎ ในแผนภาพในหัวข้อคําจํากัดความต่อไป ภาพ 1: กลุ่มย่อยของประชากรสุนัขทั้งหมด แผนภาพนี้แสดงประชากรสุนัขแบ่งตามกลุ่มย่อยต่างๆ โปรดสังเกตว่ากลุ่มเหล่านี้ไม่นิ่งและสุนัขอาจเคลื่อน ไปมาระหว่างกลุ่มเหล่านี้ ตามทิศทางของลูกศร

คําจํากัดความ สุนัขเร่ร่อน
สุนัขที่ไม่อยู่ภายใต้การควบคุมโดยตรงหรือไม่ถูกจํากัด โดยเครื่องกีดขวาง คําว่าสุนัขเร่ร่อนมักใช้แทนคําว่า “สุนัขเร่ร่อนอิสระ” หรือ “สุนัขเลี้ยงแบบปล่อย” หรือ “สุนัขจรจัด” โปรดสังเกตว่าคําดังกล่าวครอบคลุมไปถึง สุนัขเร่ร่อนที่มีและไม่มีเจ้าของ และไม่ได้จําแนกว่าสุนัข นั้น มี “เจ้าของ” หรือ “ผู้ดูแล” ในหลายประเทศ สุนัข ส่วนใหญ่ที่เรียกว่า สุนัขเร่ร่อนนั้นมีเจ้าของ แต่ได้รับ อนุญาตให้ออกมาเร่ร่อนในที่สาธารณะได้ตลอดทั้งวัน หรือบางเวลาของวัน สุนัขมีเจ้าของ สําหรับวัตถุประสงค์ที่กล่าวนี้ สุนัขมีเจ้าของหมายถึง สุนัขที่มีคนประกาศตัวเป็นเจ้าของหรืออ้างสิทธิ์ในสุนัข นั้น เช่น หากมีผู้สอบถามเรื่องสุนัข คนดังกล่าวจะบอก ว่า “นี่คือสุนัขของฉัน” ซึ่งไม่จําเป็นต้องหมายความว่า สุนัขนั้นจะต้องเป็นสุนัขที่มีเจ้าของรับผิดชอบเลี้ยงดู ความหมายของความเป็นเจ้าของนั้นอาจมีขอบเขต ตั้งแต่ เจ้าของแบบ “ห่างๆ” คือมีการให้อาหารอย่างไม่สม่ำาเสมอแก่สุนัขที่ร่อนเร่เป็นอิสระบนถนน ไปจนถึงสุนัขที่เลี้ยงไว้เป็นส่วนหนึ่งของฟาร์มเพาะพันธุ์เชิง พาณิชย์ ไปจนถึงสุนัขที่ได้รับการเลี้ยงดูเอาใจใส่ ขึ้นทะเบียนอย่างถูกกฎหมายและถูกกักบริเวณ ในความเป็นจริงปัจจัยที่กําหนดความเป็นเจ้าของสุนัขนั้นมี ความหลากหลายและผันแปรไปตามระดับการจํากัด ความเคลื่อนไหว การให้ปัจจัยการดํารงชีพ เช่นอาหาร และที่พักอาศัย และระดับความผูกพัน สุนัขชุมชน ยังมีบางสถานการณ์ที่มีบุคคลมากกว่าหนึ่งคนที่อย่าง ความเป็นเจ้าของในสุนัขตัวหนึ่ง และลักษณะนี้เรา เรียกว่าสุนัขชุมชน เจ้าของสัตว์เลี้ยงที่มีความรับผิดชอบ หลักการข้อหนึ่งของสวัสดิภาพสัตว์คือเจ้าของมีหน้าที่ให้การดูแลอย่างเพียงพอและเหมาะสมแก่สัตว์เลี้ยงของตนและลูกหลาน คําว่า “หน้าที่ให้การดูแล” กําหนดให้เจ้าของให้ปัจจัยยังชีพ (เช่น อาหาร น้ํา การ ดูแลสุขภาพ และความสัมพันธ์ทางสังคม) ที่จําเป็นแก่สุนัขแต่ละตัวเพื่อที่จะรักษาสุขภาพและความเป็นอยู่ในระดับที่ยอมรับได้ภายใต้สภาพแวดล้อมที่เป็นอยู่ของ สุนัขนั้น – ทั้งนี้เราสามารถใช้หลักการของ อิสระ 5 ประการ2 เพื่อเป็นแนวทางได้ เจ้าของยังมีหน้าที่ลดความเสี่ยงที่สุนัขของตนไปทําอันตรายต่อสัตว์อื่นหรือ บุคคลทั่วไป ในบางประเทศหน้าที่นี้ถือเป็นข้อบังคับตามกฎหมาย
ต่อไปนี้คือรายการปัจจัยที่มักติดอันดับความสำคัญในลำดับต้นๆของการควบคุมประชากรสุนัข รายการเหล่านี้จะแบ่งออกเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อขนาดของประชากรสุนัขและที่มีอิทธิพลหรือจูงใจคนให้พยายามควบคุมประชากรฯ อย่างไรก็ตามอาจมีบุคคลอื่นๆที่เกี่ยวข้องภายใต้เงื่อนไขบางประการ และสาเหตุของประชากรสุนัขเร่รอน ไม่ใช่แค่ผลกระทบจากประชากรสุนัขเหล่านี้เท่านั้น
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อขนาดของประชากรสุนัข
ทัศนคติและพฤติกรรมของมนุษย์
เป้าหมายคือการสนับสนุนการเป็นเจ้าของที่มีความรับผิดชอบพฤติกรรมของคนมักมีอิทธิพลสูงสุดที่ผลักดันการเคลื่อนไหวของประชากรสุนัข ซึ่งการส่งเสริมการมีปฎัมพันธ์ระหว่างคนและสัตว์ด้วยความรับผิดชอบและแบบต่างตอบแทนจะนำไปสู่สวัสดิภาพที่ดีขึ้นและยังช่วยลดแหล่งที่มาของการเกิดสุนัขเร่ร่อนลดลงอย่างมาก
ความสามารถในการขยายพันธ์ของประชากร
เป้าหมายคือเพื่อรักษาสมดุลระหว่าง “อุปทานและอุปสงค์” เพื่อให้จำนวนของประเภทสุนัขที่เกิดตรงกับจำนวนและประเภทที่คนทั่วไปต้องการ
เพื่อลดขนาดของประชากรสุรัขเร่ร่อนที่ไม่พึงประสงค์ด้วยวิธีการตามหลักมนุษยธรรม เราจำเป็นต้องลดจำนวนประชากร “ส่วนเกิน” ประชากร “ส่วนเกิน” นี้อาจเป็นสุนัขที่ไม่มีเจ้าของ สุนัขที่มีเจ้าของหรือสุนัขที่ตั้งใจผสมพันธ์ขึ้นมา ซึ่งการทำหมันช่วยลดความสามารถในการขยายพันธ์ได้ แต่ต้องเลือกประชากรสุนัขกลุ่มเป้าหมายอย่างระมัดระวัง
สุนัขที่ติดลูกบ่อยๆ
เพื่อลดอัตราการสืบพันธ์ของประชากรได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด เราจำเป็นต้องประเมินว่าสุนัขกลุ่มใดที่ตกลูกสุนัขและสามารถเลี้ยงดูสุนัขให้เติบโตอยู่รอดได้จริง
ลูกหลานสุนัขที่มีแนวโน้มจะกลายเป็นสุนัขเร่ร่อน
อาจมีประชากรสุนัขบางกลุ่มซึ่งลูกหลานของมันมีแนวโน้มจะถูกปล่อยออกไปเร่ร่อนหรือถูกทิ้ง ปัญหานี้มักเกี่ยวกับการขาดความเข้าใจและการยอมรับความรับผิดชอบในฐานะเจ้าของสุนัข ซึ่งอาจเป็นผลมาจากการศึกษา ทัศนคติสาธารณะหรือทางสถาบันและสภาพสังคม-เศรษฐกิจ
สุนัขเพศเมีย
การมุ่งความพยายามไปที่การแทรกแซงสุนัขเพศเมียอาจเป็นเรื่องที่ฟังดูมีเหตุผล เนื่องจากสุนัขเพศเมียมักเป็นปัจจัยที่จำกัดความสามารถในการขยายพันธ์ การทำให้ฝูงสุนัขเพศเมียตั้งท้องอาจใข้เพียงสุนัขเพศผู้ (ที่ไม่ได้ทำหมัน) เพียงไม่กี่ตัว ดังนั้นแม้จะมีการทำหมันประชากรสุนัขเพศผู้เป็นจำนวนมาก อาจไม่ส่งผลให้ความสามารถในการขยายพันธ์ลดลง แต่การทำหมันสุนัขเพศเมียแต่ละครั้งจะช่วยลดความสามารถในการขยายพันธ์ในภาพรวมได้เป็นอย่างมาก
สุนัขเพศผู้
อย่างไรก็ตามพฤติกรรมทางเพศสุนัขเพศผู้ทั้งหมดอาจกลายเป็นปัญหา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อสุนัขเพศเมียที่ไม่ได้ทำหมันอยู่ระหว่างติดสัด สุนัขโตเพศผูอาจไม่เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมแม้ภายหลังการทำหมันเท่าสุนขเพศผู้หนุ่มที่ยังไม่พัฒนาพฤติกรรมทางเพศ ดังนั้นเราอาจพิจารณาสุนัขหนุ่มเป็นประชากรที่มีลำดับความสำคัญถัดไปในการทำหมัน ต่อจากสุนัขเพศผู้
ทั้งสุนัขเพศเมียและเพศผู้สามารถเป็นพาหะโรคพิษสุนัขบ้า ดังนั้นหากเลือกทำหมันเฉพาะสุนัขเพศเมียในพื้นที่ที่มีโรคพิษสุนัขบ้า สุนัขเพศผู้ควรได้รับวัคซีนด้วยเป็นอย่างน้อย
การเข้าถึงปัจจัยยังชีพ
เป้าหมายคือ เพื่อลดการเข้าถึงทรัพยากรที่อาจส่งเสริมให้สุนัขออกไปเร่ร่อน และเพื่อใช้วิธีการปรับปรุงทรัพยากรในพื้นที่เพื่อลดจํานวนประชากรสุนัขเร่ร่อนในพื้นที่ โดยทั่วไปสุนัขมักได้รับปัจจัยยังชีพ (อาทิ อาหาร น้ำ และที่ พัก) ที่เจ้าของจัดหาให้โดยตรงภายในบริเวณที่กักขังในบ้านเรือนหรือจากสาธารณะขณะเร่ร่อน ระดับของการพึ่งพาทรัพยากรสาธารณะเพื่อความอยู่รอดขึ้นอยู่กับระดับการดูแลที่ ได้รับจากเจ้าของสุนัขมีเจ้าของบางตัวได้รับการสนับสนุนให้ออกไปเร่ร่อนเนื่องจากโอกาสในการเข้าถึงยังชีพที่ได้จากสาธารณะ แต่มิได้อาศัยปัจจัยเหล่านี้เพื่อการอยู่รอด ขณะที่สุนัขที่ไม่มีเจ้าของหรือเจ้าของไม่เอาใจใส่ดูแลจะพึ่งพาปัจจัยที่ได้จากสาธารณะนี้อย่างสิ้นเชิงในการอยู่รอด การเปลี่ยนแปลงวิธีการเข้าถึงยังชีพจากสาธารณะนี้ส่งผลต่อประชากรสุนัขเร่ร่อนโดยปิดโอกาสในการออกไปเร่ร่อนของสุนัข อย่างไรก็ตามการดําเนินการดังกล่าวอาจลดโอกาสรอดชีวิตของสุนัขที่พึ่งพาปัจจัยสาธารณะเหล่านี้ได้
ปัจจัยที่จูงใจให้คนควบคุมประชากรสัตว์ โรคสัตว์สู่คน (โรคทีสามารถติดต่อจากสัตว์สู่มนุษย์) เป้าหมายคือ เพื่อลดความเสี่ยงที่ประชากรสุนัขจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์และสุขภาพของสัตว์อื่น โรคสัตว์สู่คนมักเป็นสาเหตุหลักของความวิตกเกี่ยวกับปัญหาประชากรสัตว์เร่ร่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์กรบริหารส่วนท้องถิ่นและภาครัฐซึ่งรับผิดชอบงานด้านสาธารณสุข เนื่องจากโรคพิษสุนัขบ้าเป็นโรคที่ทําให้ถึงแก่ชีวิต ซึ่งมีสุนัขเป็นพาหะหลักของการถ่ายทอดสู่คน การควบคุมโรคพิษสุนัขบ้ามักเป็นแรงจูงใจสําคัญของการ ควบคุมประชากรสุนัข
ประชากรสุนัขจรจัดในปัจจุบัน
เป้าหมายคือเพื่อลดความเสี่ยงที่ประชากรสุนัขจรจัดในปัจจุบันมีต่อชุมชน และเพื่อไม่ให้สวัสดิภาพของประชากรสุนัขในปัจจุบันอยู่ในระดับที่ต่ำ ประชากรสุนัขเร่ร่อนในปัจจุบันอาจสร้างความขัดแย้งระหว่างมนุษย์และสัตว์ (นอกจากโรคสัตว์สู่คน) และอาจเป็นปัญหาด้านสวัสดิภาพสัตว์ที่สร้างแรงจูงใจได้อย่างชัดเจน ในหลายๆ สถานการณ์จําเป็นต้องมีการระบุถึงปัญหาประชากรสุนัขเร่ร่อนในปัจจุบันด้วยเหตุผลด้านแรงกดดันจากสาธารณะ สาธารณสุข และสวัสดิภาพของตัวสัตว์เอง วิธีที่ดีที่สุดในการ กล่าวถึงประชากรสุนัขนี้จะขึ้นอยู่กับชุมชนมนุษย์ในท้องถิ่นนั้นๆ รวมไปถึงตัวประชากรสุนัขเอง
การออกกฎหมาย
โครงการควบคุมประชากรสุนัขนอกจากจําเป็นต้องสอดคล้องกับแนวทางการออกกฎหมาย และยังต้องได้รับการรองรับและผลักดันจากกฎหมาย กฎหมายมีความสําคัญต่อความยั่งยืนของโครงการฯ และสามารถใช้เป็นเครื่องรับประกันว่าการควบคุมประชากรสุนัขจะเป็นไปตามหลักมนุษยธรรม กฏหมายที่เกี่ยวข้องอาจเป็นกฎหมายระดับประเทศหรือ ท้องถิ่น และอาจมีอยู่กระจัดกระจายอยู่ทั่วไปในกฎหมาย ประมวลกฎหมายและพรบ.ฉบับต่างๆ นโยบายที่ร่างขึ้นมายัง อาจใช่เป็นเครื่องมือ และมีผลต่อความสําคัญหรือวิธีการบังคับใช้กฎหมาย
การขึ้นทะเบียนและการทําบัตรประจําตัว
วิธีที่ได้ผลที่สุดในการเชื่อมโยงเจ้าของสุนัขเข้ากับสุนัขคือ การขึ้นทะเบียนและการทําบัตรประจําตัวสุนัขพร้อมๆ กัน วิธีการนี้ช่วยให้เจ้าของเกิดความรู้สึกรับผิดชอบเนื่องจากสัตว์นั้นมีชื่อเจ้าของระบุอยู่ การขึ้นทะเบียน/ทําบัตร ประจําตัวเป็นเครื่องมือสําคัญในการส่งสุนัขหลงกลับไปหา เจ้าของและยังเป็นพื้นฐานที่สําคัญของการบังคับใช้กฎหมาย (รวมถึงกฎหมายการทอดทิ้งสัตว์และการบังคับ การฉีดวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้าอย่างสม่ำาเสมอ)
การทําหมันและการคุมกําเนิด
การควบคุมการแพร่พันธุ์ด้วยวิธีการทําหมันถาวรและการคุมกําเนิดชั่วคราวจะสัมฤทธิ์ผลด้วยวิธีการหลัก 3 วิธีต่อไปนี้
1. การผ่าตัด : การตัดอวัยวะที่เกี่ยวกับการสืบพันธุ์โดยการวางยาสลบเพื่อทําหมันถาวรและสามารถลดพฤติกรรมทางเพศลงอย่างมาก (โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากทําก่อนสัตว์จะเริ่มโตเข้าสู่วัยผู้ใหญ่) การผ่าตัดจะต้องใช้เทคนิคที่ถูกต้อง ระหว่างการผ่าตัดจะต้องมีการรักษามาตรฐานของการทําปลอดเชื้อ (การลดหรือการกําจัดความเสี่ยงในการติดเชื้อ) และการจัดการความเจ็บปวดที่ดีตลอดกระบวนการ การ ประเมินมาตรฐานกระบวนการเหล่านี้จะสังเกตได้จากการประเมินอาการหลังการผ่าตัดในช่วงระยะเวลาพักฟื้น การผ่าตัดอาจมีราคาสูงในเบื้องต้น แต่ให้ผลลัพธ์ที่ดีในระยะยาว และอาจถือเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพทางต้นทุนเมื่อเทียบกับเวลาการทําหมันด้วยวิธีการผ่าตัดจําเป็นต้องใช้สัตวแพทย์ที่ผ่านการอบรม เครื่องมือและอุปกรณ์พื้นฐาน
2. การทําหมันและการคุมกําเนิดด้วยสารเคมี : วิธีการเหล่านี้มีข้อจํากัดที่ต้นทุน และในความเป็นจริง การทําหมันด้วยวิธีนี้จําเป็นต้องทําซ้ําและสารเคมีบางชนิดอาจมีผลต่อสวัสดิภาพของสัตว์ ปัจจุบันยังไม่มีการทําหมันหรือการคุมกําเนิดด้วยสารเคมีใดที่รับประกันผลร้อยเปอร์เซนต์หรือไม่มีความเสี่ยงหากใช้กับสุนัขเร่ร่อนที่มิได้มีการติดตามผล อย่างไรก็ตามคาดว่าในอนาคตจะมีการวิจัยค้นคว้าและสารเคมีที่มี ประสิทธิภาพและเหมาะสมสําหรับการควบคุมการสืบพันธุ์สําหรับสัตว์คราวละมากๆ สารเคมีส่วนใหญ่จําเป็นต้อง ทดสอบทางการแพทย์กับสัตว์แต่ละตัวโดยสัตวแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญเพื่อประเมินความ สามารถในการสืบพันธุ์ก่อนที่จะนําไปใช้และฉีดให้แก่สัตว์อย่างสม่ําเสมอต่อเนื่อง ซึ่งไม่สามารถเป็นไปได้สำหรับโครงการควบคุมสุนัขส่วนใหญ่ สารเคมีและการคุมกําเนิดเหล่านี้จะต้องใช้ตามคําแนะนําของผู้ผลิต และอาจส่งผลหรือไม่ส่งผลต่อพฤติกรรมทาง เพศของสัตว์
ค. การคุมกําเนิดโดยวิธีแยกสุนัขเพศเมียที่กําลังติดสัดออกจากสุนัขตัวผู้ : เราสามารถให้ความรู้แก่เจ้าของเพื่อให้สังเกตอาการติดสัดของสุนัขเพศเมีย และวางแผนเพื่อแย สุนัขเพศเมียออกจากสุนัขเพศผู้ระหว่างระยะเวลาดังกล่าว และจะต้องให้ความสําคัญกับสวัสดิภาพของสุนัขทั้งเพศผู้และเพศเมียขณะวางแผนแยกสุนัขเพศเมีย พฤติกรรมทางเพศอาจสร้างปัญหาเนื่องจากสุนัขเพศผู้จะพยายามเข้าหาสุนัขเพศเมีย อย่างไรก็ตามวิธีการแยกสุนัขมีค่าใช้จ่ายน้อยที่สุดและไม่จําเป็นต้องใช้แพทย์ผ่าตัดที่ผ่านการอบรมเป็นพิเศษ แต่อย่างไรเมื่อมีการใช้เครื่องมือในการทําหมันและคุมกําเนิด โปรดพิจารณาความทนทานของเครื่องมือ – การควบคุมประชากรสุนัขเป็นปัญหาถาวร ดังนั้นควรมีการพิจารณาเรื่องความ ทนทานตลอดการออกแบบการแทรกแซง การให้บริการ โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายหรือคิดค่าใช้จ่ายต่ำเกินไปโดยไม่มีกา อธิบายถึงต้นทุนที่แท้จริง อาจทําให้เจ้าของสุนัขไม่ทราบถึงต้นทุนที่แท้จริงของการสัตวบาล
"การทำหมันสุนัข" เรียกได้ว่าเป็นการลดประชากรสุนัขอีกหนึ่งวิธีที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เนื่องจากปัจจุบันมีสุนัขจรจัดที่ถูกทิ้งไว้ตามท้องถนนมากมาย ซึ่งอาจจะได้รับบาดเจ็บจากการเกิดอุบัติเหตุในหลาย ๆ ครั้ง ด้วยเหตุนี้เองจึงทำให้เจ้าของสุนัขหลาย ๆ คนนิยมใช้วิธีนี้ เพราะนอกจากจะช่วยลดจำนวนสุนัขลงแล้ว ยังสามารถลดสาเหตุการเกิดโรคต่าง ๆ กับระบบสืบพันธุ์ ได้แก่ มะเร็งปากมดลูก มะเร็งรังไข่ รวมไปถึงมะเร็งต่อมลูกหมากอีกด้วย

ดังนั้น หากคุณต้องการพาสุนัขไปทำหมัน แต่ยังกังวลเกี่ยวกับคุณภาพของสถานที่ที่จะพาสุนัขตัวโปรดไปทำหมัน เราได้รวบรวมข้อมูลวิธีการเลือกสถานที่ทำหมันสุนัขที่เจ้าของทุกคนควรทราบ พร้อมคำแนะนำและคำตอบเกี่ยวกับคำถามยอดนิยมต่าง ๆ จากผู้เชี่ยวชาญด้านสัตว์เลี้ยงโดยเฉพาะ รวมถึงแนะนำ 5 สถานที่ทำหมันสุนัขที่มีคุณภาพและเป็นที่นิยม เพื่อให้คุณมีความรู้และเทคนิคในการเลือกคลินิกหรือโรงพยาบาลในการทำหมันสุนัขให้ตรงกับความต้องการและราคาที่จ่ายไปมากที่สุด

โดยทั่วไปเมื่อสุนัขเข้าสู่ช่วงวัยเจริญพันธุ์แล้ว ส่วนใหญ่จะแสดงอาการติดสัดให้เจ้าของเห็นอยู่บ่อย ๆ เนื่องจากเป็นการดึงดูดความสนใจให้กับสุนัขเพศตรงข้ามให้เข้ามาผสมพันธุ์ด้วย ได้แก่ แสดงพฤติกรรมก้าวร้าว ส่งเสียงร้องเสียงดัง ฉี่เรี่ยราด รวมถึงการหนีออกจากบ้านเพื่อไปผสมพันธุ์กับสุนัขตัวอื่น เพื่อเป็นการลดการเกิดปัญหาเหล่านี้การทำหมันสุนัขจึงเป็นวิธีแก้ไขที่ดีที่สุด โดยการทำหมันสุนัขนั้นจะมีทั้งข้อดีและข้อเสียต่างกันออกไปดังนี้

ข้อดี การทำหมันสุนัขนอกจากจะเป็นการช่วยลดจำนวนของสุนัขภายในบ้านให้ใครหลาย ๆ คนแล้ว ยังเป็นการช่วยลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนได้อีกด้วย และสามารถลดการเกิดโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบสืบพันธุ์ เช่น มดลูกอักเสบ รวมถึงลดอาการก้าวร้าวและดุร้ายของสุนัขได้ด้วย
ข้อเสีย การทำหมันสุนัขจะมีโอกาสทำให้สุนัขมีน้ำหนักตัวเพิ่มมากขึ้นและอาจเกิดโรคอ้วนตามมาได้ เพราะระบบการเผาผลาญลดลง แต่อยากกินอาหารเพิ่มมากขึ้น และอาจเสี่ยงที่จะมีโรคตามมาจากโรคอ้วน เช่น โรคเบาหวาน หรือโรคข้อเข่าเป็นต้น
วิธีการเลือกคลินิกทําหมันสุนัข
การทำหมันสุนัขสามารถเลือกทำได้ทั้งในคลินิกหรือโรงพยาบาลสัตว์ขึ้นอยู่กับความสะดวกของเจ้าของ โดยแต่ละที่นั้นก็จะมีความแตกต่างกันในเรื่องของบุคลากร เครื่องมือ หรือมาตรฐานในการผ่าตัด เพื่อให้คุณตัดสินใจได้ง่ายขึ้น เราขอแนะนำวิธีการเลือกสถานที่ในการทำหมันสุนัขว่าควรตรวจสอบจากเหตุผลใดบ้าง
สิ่งที่สำคัญและไม่ควรมองข้ามในการเลือกสถานที่ทำหมันก็คือ การเลือกคลินิกหรือโรงพยาบาลสัตว์ที่มีสัตวแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง เพราะในการทำหมันสุนัขในแต่ละครั้งจะต้องใช้ความรู้ความสามารถและประสบการณ์ในการผ่าตัด ด้วยเหตุนี้เอง สัตวแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางจึงมีความสำคัญในการผ่าตัดของสุนัข ซึ่งเจ้าของสุนัขเองสามารถค้นหาข้อมูลสัตวแพทย์ประจำคลินิกต่าง ๆ ได้จากเว็บไซต์ของทางคลินิกหรือโรงพยาบาลสัตว์ หรือช่องทางโซเชียลมีเดียต่าง ๆ เพื่อเพิ่มความมั่นใจและความปลอดภัยในการทำหมันสุนัขของคุณได้ด้วย

เลือกสถานที่ที่มีอุปกรณ์และห้องผ่าตัดทำหมันสุนัขที่สะอาดได้มาตรฐาน
นอกจากนี้การเลือกสถานที่ทำหมันที่มีอุปกรณ์และห้องผ่าตัดที่สะอาดได้รับมาตรฐานก็เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญไม่แพ้เหตุผลอื่นเลยค่ะ เนื่องจากการเลือกโรงพยาบาลสัตว์หรือคลินิกที่มีอุปกรณ์และห้องผ่าตัดที่ได้รับมาตรฐานนั้น นอกจากจะเป็นการเพิ่มความปลอดภัยให้กับสุนัขของคุณแล้ว ยังเพิ่มความมั่นใจให้กับคุณเองว่าเลือกสถานที่ที่ดีมีคุณภาพในการผ่าตัดให้กับสัตว์เลี้ยงอันเป็นที่รักของคุณ โดยสามารถโทรสอบถามได้จากหน้าเว็บไซต์หรือหาดูรีวิวการใช้บริการตามช่องทางต่าง ๆ เพื่อประกอบการตัดสินใจเลือสถานที่ในการทำหมันสุนัขของคุณค่ะ
ตรวจสอบแพ็กเกจการทำหมันสุนัขว่าครอบคลุมค่าใช้จ่ายใดบ้าง
คลินิกหรือโรงพยาบาลสัตว์ในปัจจุบันได้มีการจัดทำแพ็กเกจทำหมันสุนัขเพื่อส่งเสริมให้เจ้าของสุนัขหลาย ๆ คนอยากพาสุนัขไปทำหมันเพิ่มมากขึ้น ซึ่งแต่ละที่นั้นก็จะมีโปรโมชันที่แตกต่างกันออกไป เช่น บริการเพิ่มเติม หรือราคา เป็นต้น โดยข้อดีของการจัดแพ็กเกจแบบนี้คือ ครอบคลุมค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำหมัน ช่วยให้คุณไม่ต้องกังวลกับค่าใช้จ่ายที่ตามมา

นอกจากจะไม่ต้องกังวลกับค่าใช้จ่ายส่วนอื่น ๆ แล้วยังสามารถลดค่าใช้จ่ายได้อีกด้วย เพราะการทำหมันแบบปกติจะมีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง ดังนั้นการซื้อแพ็กเกจทำหมันสุนัขถือเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายให้กับคุณ
ผลิตภัณฑ์ TOP 5 แนะนำสำหรับคลินิกทำหมันสุนัข ที่ไหนดี ได้แก่ :

โรงพยาบาลสัตว์ทองหล่อ
โรงพยาบาลสัตว์พญาไท 7
โรงพยาบาลสัตว์โอะไดจินิ
โรงพยาบาลสัตว์ไอเว็ท
โรงพยาบาลสัตว์ ทรี ดี เพ็ท

CONTACT ME

บริษัท ด็อก แคร์ ด็อก จำกัด

 

ทะเบียนนิติบุคคลเลขที่
0775565004067

 

186/5 ถนนสุขจิต

ตําบลประจวบคีรีขันธ์

อําเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์

จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

77000

  • บรรทัด
  • Facebook

Tel. 095-636-6364

Line OA @dogcare

Email dogcare.co.th@gmail.com

Website www.dogcare.co.th

ส่งข้อความถึงเรา

เราได้รับข้อความของคุณแล้ว และจะติดต่อกลับในเวลาทำการ

bottom of page